คู่มือการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ

- 1049 reads
การบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาเป็นมาตรการจูงใจให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงาน
เพื่อตอบสนองภารกิจของหน่วยงานโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ ระบบคุณธรรมและหลักธรรมาภิบาล
เพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัว เกิดความอิสระในการปฏิบัติงานภายใต้กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนา มีความรู้ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ นำไปสู่การบริการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนต่อไป
1. ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ
1.1 ข้าราชการ
1.1.1 สพม.3 แจ้งหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติให้สถานศึกษา ข้าราชการครูทราบและถือปฏิบัติ
1.1.2 สพม.3 ตรวจนับตัวข้าราชการที่ปฏิบัติจริง ณ วันที่ 1 มีนาคม หรือ 1 กันยายน เพื่อดำเนินการเลื่อนเงินเดือนครั้งที่ 1 (1 เมษายน) หรือ ครั้งที่ 2 (1 ตุลาคม) แล้วแต่กรณี
1.1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารวงเงินเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ
1.1.4 ผู้บังคับบัญชา/คณะกรรมการ สถานศึกษา สพม.3 ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
1.1.5 สพม.3 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
1.1.6 ส่งผลการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนเพื่อนำเสนอ กศจ. ให้ความเห็นชอบ
1.1.7 ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
1.1.8 ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจัดให้มีการแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือนแต่ละครั้งให้ข้าราชการแต่ละคนทราบเป็นข้อมูลเฉพาะบุคคล
1.1.9 ผู้บังคับบัญชาประกาศรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ดีเด่นและดีมาก ในที่เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นการยกย่องชมเชยและสร้างแรงจูงใจให้พัฒนาผลการปฏิบัติงานในรอบการประเมินต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
1.2 ลูกจ้างประจำ
2.1.1 สพม.3 กำหนดปฏิทินการดำเนินการเลื่อนเงินค่าจ้างลูกจ้างประจำ
2.1.2 สพม.3 กำหนดปฏิทินการดำเนินการเลื่อนเงินค่าจ้างลูกจ้างประจำดำเนินการนับตัวลูกจ้าง
ที่ปฏิบัติจริง ณ วันที่ 1 มีนาคม หรือ 1 กันยายน เพื่อดำเนินการเลื่อนค่าจ้างลูกจ้างประจำ
ครั้งที่ 1 (1 เมษายน) หรือ ครั้งที่ 2 (1 ตุลาคม) แล้วแต่กรณี
2.1.3 สพม.3 แจ้งการจัดสรรโควตาหรือวงเงินเลื่อนค่าจ้างในสถานศึกษา
2.1.4 สพม.3 ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานลูกจ้างประจำ ตามแบบประเมินที่กำหนด
2.1.5 คณะกรรมการกลั่นกรองการเลื่อนค่าจ้างพนักงาน ผลการประเมินและการเลื่อนขั้น
2.1.6 ผู้บังคับบัญชา/ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ ทีคำสั่งเลื่อนค่าจ้างลูกจ้างประจำ
2. แบบฟอร์มที่ใช้
เป็นไปตามแบบที่ สพฐ.กำหนด
3. เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
3.1 หนังสือ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว15 ลงวันที่ 27 กันยายน 2561
เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.2 หนังสือ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว20 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2561
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.3 หนังสือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04009/ว8067
ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2561 เรื่อง การกำหนดจำนวนครั้งของการลาและการมาทำงานสาย
3.4 หนังสือ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/39ลงวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2562
เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.5 หนังสือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04009/ว627
ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.6 หนังสือ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว5 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.7 หนังสือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04009/ว1692
ลงวันที่ 12 มีนาคม 2562 เรื่อง ซักซ้อมการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและเลื่อนขั้นลูกจ้างประจำครั้งที่ 1 (1 เมษายน 2562)
3.8 แนวปฏิบัติการเลื่อนค่าจ้างลูกจ้างที่ สพฐ. กำหนด
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
นางสาวกมลชนก โชติสุต
พนักงานราชการ กลุ่มบริหารงานบุคคล
โทร. 02 149 3923 ต่อ 302,303
Attachment | Size |
---|---|
![]() | 205.6 KB |
ข่าวล่าสุดในหมวดหมู่เดียวกัน
- 1 of 16
- ถัดไป ›
ข่าวการศึกษา
ประเภทข่าว:
- กลุ่มบริหารงานบุคคล
ข่าวจาก:
- กลุ่มงานในสังกัด สพม.3